วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ปะ ปะ ปะ ปลาาาา (โดรี่)

วันนี้เห็นคนนั่งเถียงกันระหว่างมื้ออาหาร
เรื่อง
ปลาโดรี่

(ความคิดผมคือ แดกๆ ไปเหอะถ้ามันอร่อย)


เรื่องมีอยู่ว่า คนนึงสั่งปลาโดรี่มากิน
อีกคนนึงก็เบะหน้าใส่ "เฮอะ โดนหลอกแล้ว"

ก็งงสิครับ กินปลาเขาบอกว่าจะฉลาด แต่กินแล้วบอกกูโดนหลอก อ่าว ยังไง แถลงไขให้ฟังหน่อย

เขาก็บอกว่าปลาโดรี่เนี่ย ความจริงมันเป็นปลาสวาย มาจากประเทศเวียดนาม
แต่เวียดนามเขาเลี้ยงดี เลยได้เนื้อปลาสีขาวนวลกว่าปลาสวายบ้านเรา

นี่มึงแดกปลาสวายอยู่นะรู้มั้ยยย
(บล็อกนี้เริ่มเหมือนดราม่าแอดดิคขึ้นทุกวันละ =.=")

กลับมาเลยลองหาข้อมูลดู ได้ความมาว่า

ปลาดอรี่จริงๆ เขาจะเรียกว่า Pacific Dory จะมีหน้าตาหน้าเกลียดหน้าชังแบบนี้



สายพันธุ์ที่นิยมบริโภคคือ John Dory เนื้อขาว เนียนนุ่ม เขาว่ารสชาติคล้ายเนย นุ่มละมุนลิ้นราวกับละลายในปากได้

Pacific Dory นี้เป็นปลาทะเลอยู่ในแถบน้ำเย็น กระจายอยู่ทั่วโลก

แต่ปลาโดรี่ที่กินในประเทศไทยนั้นไม่ใช่ Pacific Dory
แต่มันอยู่ในสกุล ปลาสวาย Pangasius
ปลาสวายจะอาศัยอยู่ในน้ำจืด หน้าตาน่ารักกว่าโดรี่ตัวจริงเยอะ พุงป่องๆ หัวเล็กๆ แบบนี้

แต่ปกติแล้วปลาสวายถึงเนื้อจะนุ่มคล้ายกัน แต่สีไม่ขาวใสแบบปลาโดรี่
แต่ในเวียดนามเขาจะมีวิธีเลี้ยงให้เนื้อขาวใส น่าหม่ำ
จนกลายเป็นปลาเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามไปแล้ว

แต่เวลาขายเขาก็ไม่ได้หลอกนะ
เขาระบุชัดเจนว่าเป็น Pangasius Dory
คือเป็นปลาสวายที่เนื้อเหมือนปลาโดรี่

เขาระบุชัดนะโว้ย

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พืชลูกผสม พ่อแม่โครโมโซมไม่ตรงกัน แต่ผสมพันธุ์ได้ยังไง

หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินเรื่องการผสมข้ามสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลายๆชนิดมาบ้าง
ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสัตว์ เช่น
ม้าล่อกับม้า ก็ได้ม้า
ลาล่อกับลาได้ลา
ม้าล่อกับลาก็ได้ล่อ
ลาล่อกับม้าได้ล่อ
ล่อล่อกับล่อ ดั๊นนน ไม่ได้ล่อ
คือแค่ได้ล่อเฉยๆ แต่ไม่ได้ลูกล่อ
งงหละสิ 555

เอ้า อย่าพึ่ง งง

คือปกติสิ่งมีชีวิตก็สามารถผสมพันธุ์ กับตัวที่เป็นสายพันธุ์เดียวกัน ถึงจะมีลูกได้
แต่ถ้าเกิดเป็นต่างสายพันธุ์แล้ว ผสมยังไงก็ไม่มีลูก หรือถ้ามีลูก ลูกก็จะเป็นหมัน
อย่างเรื่องของม้า ลา และล่อ ที่อ่านไปแล้ว
หรือตัวอย่างอื่นเช่น สิงโตและเสือ ผสมกันแล้วได้ไลเกอร์ (lion+tiger » liger) แต่ไลเกอร์นี่มันจะเป็นหมัน เอาไปผสมพันธุ์ต่อไม่ได้
พวกลูกผสมนี้เราเรียกว่า hybrid เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะโครโมโซมใกล้เคียงกันมากๆ มาผสมกัน ก็ผสมได้แ ต่เนื่องจากโครโมโซมมันไม่ได้เหมือนกันเป๊ะๆ จึงทำให้เกิดปัญหาตอนสร้างเซลล์สืบพันธุในรุ่นลูก ลูกผสมจึงเป็นหมัน
แต่สำหรับพืช คงเห็นชาวบ้านชาวสวนจับผสมข้ามสายพันธุ์กันเฮฮาปาร์ตี้

อ่าวไหงเป็นงั้นหละ???

ในการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ สมมติ
ตัวที่  1 มีโครโมโซม AABBCC   ตัวที่ 2 มีโครโมโซม AACCDD
เซลล์สืบพันธุ์ตัวที่1มี ABC ตัวที่2 มีACD
ดังนั้นลูกจะมีโครโมโซม AABCCD ในสิ่งมีชีวิตทั่วไปก็เลยจะมีปัญหาในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของลูกคือตอนที่ meiosis จะต้องมีการจับคู่โครโมโซมคู่เหมือน(ระยะ zygotene) ซึ่ง B D จับไม่ได ก็เลย meiosis ไม่ได้

แต่ในพืชมันไฮโซกว่านั้น
มี AABCCD ใช่มั้ย
จับคู่ไม่ได้ใช่มั้ย
ก็สร้างคู่ให้มันจับซะ
วิธีการสร้างคู่ก็ง่ายๆ
คูณ2 ทั้งสมการขอรับ
AABCCD » AAAABBCCCCDD
ได้คู่เรียบร้อย โคตรคู่เลย
พอจะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ก็เลยสร้างได้ตามปกติ

แถมบางครั้งได้ประโยชน์เพิ่มด้วย
เช่นถ้า บนโครโมโซมA มียีนคุมให้ผลมีขนาดใหญ่
พืช AA ก็คือผลขนาดปกติ
แต่ถ้า AAAA หละ ผลก็จะใหญ่โตมโหฬารบานตะไทมไหสวรรค์
ถ้า C เป็นยีนให้เนื้อหวาน เนื้อก็จะหวานหยาดเยิ้มยิ่งกว่าน้ำผึ้งเดือน 5

และนี่ก็เป็นเหตุผลที่พืชสามารถผสมข้ามสายพันธุ์ได้ด้วยประการฉะนี้
เอเมน

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จะสร้างตึกสูง รากฐานต้องแน่น เรียนชีวะให้เก่ง ต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

เคยมีคนถามว่า
เรียนชีวะ ต้องเก่งวิชาอะไรมาก่อนมั้ย
"มึงต้องเก่งทุกวิชานั่นแหละ"
อันนี้ตอบในใจ 
"อ๋อ ไม่ต้องหรอก อาศัยอ่านเยอะๆ ทำความเข้าใจเยอะๆ เดี๋ยวก็เก่ง"
อันนี้ตอบจริงๆ พร้อมรอยยิ้มอันเป็นมิตร

พื้นฐานของสิ่งมีชีวิตสามารถทำงานได้ด้วยปฏิกิริยาทางเคมีอันซับซ้อน สารพันธุกรรมถูกถอดรหัสโดยตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิต (ที่เราเรียกกันว่าเอนไซม์นั่นไง) ให้ออกมาเป็นก้อนโปรตีนหลายๆ ชนิดที่นำไปใช้ทำหน้าที่ต่างๆ นาๆ ในร่างกาย ถูกควบคุมผ่านฮอร์โมนซึ่งมีทั้งชนิดที่เป็น ก้อนโปรตีน อนุพันธ์ของไขมัน (พวกสเตรอยด์) และอีกหลายๆชนิด 
โคเอนไซม์ โมเลกุลชีวภาพที่ช่วยให้เอนไซม์ทำงานได้ดีขึ้น
พูดง่ายๆคือ เคมีเป็นพื้นฐานของวิชาชีววิทยา

เพราะฉะนั้นถ้าจะเรียนชีวะเก่ง ต้องเข้าใจ เคมี
แต่จะเข้าใจเคมี ต้องมีพื้นฐานของอะไรอีกหละ

เคมีประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญที่เล็กที่สุดคืออะตอม อะตอมเกิดจากอนุภาคสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดเล็กจิ๋วมายึดเหนี่ยว เกิดพันธะเข้าด้วยกัน เกิดการเคลื่อนที่ หมุน เกิดโมเมนตัม มีพลังงานขึ้นมา
เราจะอธิบายปรากฎการณ์เหล่านี้ เราก็ต้องใช้ความรู้ทางด้าน ฟิสิกส์ เข้ามาอีก

รูปลักษณ์ของอะตอมที่ประกอบด้วยอนุภาคแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดจิ๋ว

ฟิสิกส์ จะศึกษาได้ ก็ต้องคำนวณ สร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้เห็นภาพทางฟิสิกส์อีก

สมการฟิสิกส์ ที่ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์สร้างเป็นโมเดลขึ้นมา

สรุปชีวะจะเรียนรู้เรื่องต้องมีพื้นฐานของวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหมดนั่นแหละครับ
เลข ฟิสิกส์ เคมี
เพื่อเอามาอธิบายปรากฎการณ์ทางชีวภาพต่อไป

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรื่อง ขี้ ขี้

วันนี้เจ้าของบล็อกได้ประสบพบเจอมากับตัว
เลยนึกถึงความรู้หนึ่งขึ้นมาได้



เพราะอะไรจึง

ขี้แตก

โอ้โห เห็นชื่อก็แสบตูดละ 



ปกติแล้วเซลล์ที่ผนังลำไส้ของเราเนี่ยก็จะมีการเรียงตัวแนบชิด สนิทสนมกลมเกลียวกัน
ก็เพื่อเวลาที่ดูซึมสารต่างๆ ไปแล้ว สารเหล่านั้นจะไม่ไหลย้อนกลับเข้าไปในลำไส้
ทำหน้าที่คล้ายๆผ้าอนามัยนั่นแหละ
และที่ขาดไม่ได้ของผ้าอนามัยนั่นก็คือ!!!

มันต้องมีปีก

ไอ้เซลล์ผนังลำไส้ (Enterocyte) ของเราก็ไม่น้อยหน้านะ มันก็มีปีกเหมือนกันนี่แหละ
แต่ปีกของมันไม่ได้เอาไว้กระพือ พึ่บพั่บ พึ่บพั่บ แต่อย่างใด

เจ้าปีกนี้มันจะไปยึดอยู่กับปีกของเซลล์ข้างๆ เพื่อให้เซลล์ที่เรียงตัวแน่นอยู่แล้ว ให้เรียงตัวแน่นขึ้นไปอีก
ถ้าเทียบง่ายๆ ก็เหมือนกับผ้าที่เย็บติดกันแน่นๆ นั่นเอง


ทำไมเซลล์ถึงต้องมีปีกหนะเหรอ
การที่เซลล์มาเรียงต่อข้างๆกัน เดี๋ยวซักพักมันก็จะไหล จะย้วย จะห่างออกจากกัน
เพราะฉะนั้น มันจะต้องมีอะไรมายึด สิ่งพวกนี้เราเรียกมันว่า Junction (แปลว่าการเชื่อมต่อ)
junction นี้ก็จะมีหลายๆ แบบตามรูปที่เห็นด้านบน 
แต่ตัวสำคัญที่ถ้าเสียไปแล้วจะทำให้เป็น Diarrhea (ขี้แตกนั่นแหละ) คือตัวที่เรียกว่า tight junction

Tight junction นี้จะเป็น junction ที่จะยึดเซลล์สองเซลล์ให้แน่น (tight แปลว่าแน่น)
แล้วถ้ามันยึดไม่แน่นจะเป็นยังไง??

เซลล์สองเซลล์ที่เรียงติดกัน มันก็จะมีช่องว่างระหว่างเซลล์อยู่ ทำให้สารรั่วซึม(Leak) ออกมาตามช่องนี้
แต่ tight junction จะดึง cell membrane มาแล้วเย็บให้ติดกัน เหมือนรูปด้านบน

แต่ถ้าร่างกายเราได้รับเชื้อที่ทำให้เป็น Diarrhea เข้ามาแล้ว เชื้อเหล่านี้จะสร้างโปรตีนตัวหนึ่งชื่อว่า gluten ไปกระตุ้นให้ tight junction นี่ขาดออกจากกัน จึงเป็นสาเหตุให้สมดุลการดูดซึมเสียไป
ต้องรอจนกว่าร่างกายเราจะกำจัดเชื้อและgluten เหล่านี้ไปให้หมดเสียก่อน tight junction จึงกลับมาทำหน้าที่ได้ปกติอีกครั้ง

 เชื้อที่พบได้บ่อยก็อย่าง
กลุ่ม แบคทีเรีย - Shigella dysenteriae (บิดไม่มีตัว), Salmonella enterica (ไทฟอยด์)
กลุ่มโปรติสต์ - Giardia lambliaEntamoeba histolytica

ความจริง Diarrhea มีหลายชนิดย่อยลงไปอีก และสาเหตุก็มีมากมายหลากหลาย
สามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้จาก

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แชร์ข้อสอบเรื่อง linked-gene

ข้อสอบถามว่า

การผสมพันธุ์ระหว่างจีโนไทป์ในข้อใด สามารถบอกได้ว่ายีนคู่ A และ B แยกออกจากกันอย่างอิสระ

1. AaBb x aabb 2. AABB x aabb 3. Aabb x aaBb 4. AAbb x aaBB

คิดออกกันมั้ยเอ่ย

กรณีนี้ถามว่าข้อไหนไม่มีโอกาสเป็น linked-gene
ถ้าเป็น linked-gene มันจะติดกันหมด เช่น
ข้อ1 Aคู่กับ B เสมอ aคู่กับb เสมอ
ข้อ2 Aคู่B เสมอ aคู่b เสมอ
ข้อ4 Aคู่b เสมอ aคู่B เสมอ
3 ข้อนี้จึงเป็น linked-gene ครับ
เหลือข้อ 3 ที่ไม่เป็น linked-gene

เพราะฉะนั้นตอบข้อ 3 ครับ

ไปเจอข้อสอบมา อยากแชร์

ข้อใดเกี่ยวข้องกับการมีลำดับของนิวคลีโอไทด์ในดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตแตกต่างกัน
ก. สิ่งมีชีวิตมีฟีโนไทป์ต่างกัน ข. มีวิวัฒนาการเกิดขึ้น ค. มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างสิ่งมีชีวิต

1. ก,ข 2. ข,ค 3. ก,ค 4. ก,ข,ค
คนส่วนใหญ่ตอบข้อ 1. ก,ข ถูก

แต่ในความเห็นเราตอบ ข้อ 3 ครับ
นิวคลีโอไทด์ต่างกัน ก็จะมีฟีโนไทป์ต่างกัน ข้อนี้ถูก (แต่ไม่เสมอไปนะ ลำดับเบสต่างแต่ให้ฟีโนไทป์เหมือนกันก็มี)

มีวิวัฒนาการ อันนี้ไม่ใช่ครับ วิวัฒนาการเกิดจากการที่ลำดับเบสเปลี่ยนไปเรื่อยๆ (คือลำดับเบสเปลี่ยนค่อยเกิดวิวัฒน์ แต่โจทย์ข้อนี้ถามว่าต้องลำดับเบสต่างจึงเกิดอะไรตามมา)

มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ข้อนี้ถูก สิ่งมีชีวิตคล้ายกัน มีลำดับเบสเบสต่างกันนิดหน่อย ก็หมายความมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เช่น หมา สปีชี่ส์เดียวกัน แต่สายพันธ์ต่างกัน (โกลเด้น พิทบูล ชิวาว่า หมาบ้านทุกตัวเป็นสปีชี่ส์เดียวกัน) คือลำดับเบสที่ต่างทำให้เกิดความใกล้ชิดทางวิวัฒนาการ

(ขอบคุณเพจ BioMastery ในเฟสบุคด้วยครับ)

เด็กวิทย์ หัวศิลป์






คนเรามีสมองอยู่สองซีก ซ้ายและขวา
ในด้านการเคลื่อนไหว สมองซีกซ้ายควบคุมร่างกายด้านขวา สมองซีกขวาควบคุมร่างกายด้านซ้าย
ด้านความคิด สมองซีกซ้ายควบคุมความคิดเป็นเหตุเป็นผล ตรรกะ
ส่วนสมองซีกขวาควบคุมความคิดที่ใช้อารมณ์ ความต้องการพื้นฐาน เป็นหลัก

เราเชื่อว่านักอ่านหลายๆ คนพอได้อ่านแล้วก็จะบอกว่า กูรู้แล้ววว มันเป็นที่มาของคำว่า หัววิทย์หรือหัวศิลป์นี่ไงหละ คนเราเกิดมาสมองฝั่งหนึ่งจะถูกพัฒนามากว่าอีกฝั่ง แล้วเชื่อมการทำงานของสมองสองฝั่งด้วยสมองส่วนที่ชื่อว่า Corpus Callosum นั่นอย่างไร
(วะฮะฮะฮ่าาา ฉลาดจริงๆกู)

แต่ถ้าเราบอกว่า มีคนที่เก่งทั้งวิทย์ เก่งทั้งศิลป์หละ!!!!   จะเชื่อเรารึเปล่า

ในวงการวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยานั้น จะต้องมีการเก็บตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปศึกษาโครงสร้าง รูปร่างหน้าตา หรือทำการระบุชื่อ(ทางวิทยาศาสตร์) 

แต่ถ้าไม่สามารถเก็บตัวอย่างได้หละ!!!   (ฉิบหายหละสิ)  (=..=!)

ทำไงดีครับ

ถ้าเป็นสมัยนี้ก็แน่นอนครับ ถ่ายรูปครับ หึหึ (สมาร์ทโฟน กล้องถ่ายรูป 360องศาหนะใช้เข้าไปสิยะหล่อน)
แต่การถ่ายรูปก็มีข้อจำกัดครับ อาจจะมืดแล้วถ่ายไม่ได้ อยากถ่ายให้องค์ประกอบทุกอย่างอยู่ในเฟรมเดียวก็ทำไม่ได้ ตัวอย่างที่ถ่ายเริ่มเหี่ยวแล้ว(ดอกไม้นะ ไม่ใช่ที่ไปด้วยกัน)แต่อยากถ่ายสวยๆ ทำไงดี

ทำไงดีครับ

วาดรูปครับ

วงการวิทยาศาสตร์จึงเกิดคำว่า Science Illustration (การวาดรูปทางวิทยาศาสตร์) ขึ้นมา
 การวาดรูปทางวิทยาศาสตร์ก็เหมือนการวาดรูปแบบจิตรกรนั่นแหละครับ ใช้เทคนิค วิธีเดียวกันเพียงแต่แนวคิดคนละแบบ
การวาดรูปทั่วไปจะเน้นความสวยงาม การจัดองค์ประกอบภาพที่ดึงสายตาเข้าหาจุดเด่น
ส่วนการวาดรูปทางวิทยาศาสตร์นั้น เน้นความสวยงามเหมือนกันครับ แต่ต้องเหมือนจริงด้วย เหมือนจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเก็บรายละเอียดส่วนต่างๆ ของวัตถุที่ศึกษาไว้ครบถ้วน กล้ามเนื้อแต่ละมัด เกสรแต่ละเส้นต้องเหมือนจริง



ข้อดีของการวาดรูปคือเราสามารถตกแต่งรูปให้สวยงามได้ตามที่ต้องการ เราสามารถปรับองค์ประกอบภาพได้ ซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่าการถ่ายภาพ แต่อาจจะต้องเสียเวลากับมันซักหน่อย (แต่ถ้ามืออาชีพ ก็ใช้เวลาไม่นานเลย บางรูปไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จแล้ว)

แล้วคนที่มาวาดรูปนี่ไม่ใช่จิตรกรนะครับ เป็นนักวิทยาศาสตร์เองนั่นแหละ ที่นักวิทย์ต้องวาดเองเพราะเขารู้ว่าต้องวาดตรงไหนบ้าง ตรงไหนควรเก็บรายละเอียด เช่นแมลงสองสายพันธุ์คล้ายกันมาก แต่ต่างกันที่โคนปีกนิดหน่อย นักชีวะก็จะรู้ แต่ถ้าเป็นจิตรกรคงไม่มีความรู้ด้านนี้

นี่จึงกลายเป็นที่มาของ เด็กวิทย์ หัวศิลป์ นั่นเอง

ที่ประเทศไทยงานสาขานี้มีเรียนมาเฉพาะก็มี
สามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www1.si.mahidol.ac.th/division/siet/ คณะเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.unigang.com/Article/1528
หรือที่คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลก็มีเปิดคอร์สสอนเป็นบางครั้งเช่นกัน
http://www.sc.mahidol.ac.th/scpl/SCI/

แนะนำตัวกันก่อนนะ ^^

สวัสดีขอรับ นักอ่านผู้แสวงหาความรู้ทุกท่าน
กระพ้ม วรัญญู อภิศักดิ์ศิริ หรือชื่อเรียกสั้นๆ ว่า รัน
เราเองเป็นคนนึงที่ชอบ ชีววิทยา เป็นส่วนตัว เพราะเวลาที่เราได้รับรู้ถึงสิ่งใหม่ๆ ได้ข้อมูลใหม่ๆ เราจะรู้สึก อู้หูวววววว อื้อหือออออออ (O.O) มันเป็นอย่างนี้จริงๆหรอ เป็นไปได้ยังไง ตื่นตาตื่นใจและรู้สึกตื่นเต้นกับความรู้ใหม่ๆเสมอ และเราก็เชื่อว่าหลายๆคนก็คงเป็นเหมือนเรา

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า!!!!! 
ความรู้ที่เราได้รับส่วนใหญ่มาจากห้องเรียน (=.=)
มันน่าเบื่อใช่ปะหละ พอน่าเบื่อ ก็ไม่เรียน พอไม่เรียนก็ไม่รู้เรื่อง พอเอามาอ่านก็ไม่จำ พอท่องจำก็ไม่เข้าใจ พอไม่เข้าใจก็ตก พอตกก็ไม่ชอบ พอไม่ชอบก็ไม่เรียน วุ้วววววว ประเสริฐหละงานนี้

แก้ยังไงดี??     (-.-)? (=.=)? (=..=)? 

เคยสังเกตมั้ยว่าเรื่องที่เราจดจำ หรือจำได้ จะเป็นเรื่องที่เราประทับใจ และเป็นเรื่องสั้นๆ อ่านไม่เยอะ
ให้มานั่งอ่านยืดยาว อ่านที 10-20 นาทีกว่าจะจบ ไปนั่งเล่นเกม กินขนมอร่อยๆ ยังมีความสุขกว่า จริงมะ

เพราะฉะนั้น เราจะเอาข้อนี้มาเป็นหลักยึดในการเรียนรู้กัน

ยังไงก็ขอฝากบล็อกนี้ไว้ด้วยนะขอรับ