วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เด็กวิทย์ หัวศิลป์






คนเรามีสมองอยู่สองซีก ซ้ายและขวา
ในด้านการเคลื่อนไหว สมองซีกซ้ายควบคุมร่างกายด้านขวา สมองซีกขวาควบคุมร่างกายด้านซ้าย
ด้านความคิด สมองซีกซ้ายควบคุมความคิดเป็นเหตุเป็นผล ตรรกะ
ส่วนสมองซีกขวาควบคุมความคิดที่ใช้อารมณ์ ความต้องการพื้นฐาน เป็นหลัก

เราเชื่อว่านักอ่านหลายๆ คนพอได้อ่านแล้วก็จะบอกว่า กูรู้แล้ววว มันเป็นที่มาของคำว่า หัววิทย์หรือหัวศิลป์นี่ไงหละ คนเราเกิดมาสมองฝั่งหนึ่งจะถูกพัฒนามากว่าอีกฝั่ง แล้วเชื่อมการทำงานของสมองสองฝั่งด้วยสมองส่วนที่ชื่อว่า Corpus Callosum นั่นอย่างไร
(วะฮะฮะฮ่าาา ฉลาดจริงๆกู)

แต่ถ้าเราบอกว่า มีคนที่เก่งทั้งวิทย์ เก่งทั้งศิลป์หละ!!!!   จะเชื่อเรารึเปล่า

ในวงการวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยานั้น จะต้องมีการเก็บตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปศึกษาโครงสร้าง รูปร่างหน้าตา หรือทำการระบุชื่อ(ทางวิทยาศาสตร์) 

แต่ถ้าไม่สามารถเก็บตัวอย่างได้หละ!!!   (ฉิบหายหละสิ)  (=..=!)

ทำไงดีครับ

ถ้าเป็นสมัยนี้ก็แน่นอนครับ ถ่ายรูปครับ หึหึ (สมาร์ทโฟน กล้องถ่ายรูป 360องศาหนะใช้เข้าไปสิยะหล่อน)
แต่การถ่ายรูปก็มีข้อจำกัดครับ อาจจะมืดแล้วถ่ายไม่ได้ อยากถ่ายให้องค์ประกอบทุกอย่างอยู่ในเฟรมเดียวก็ทำไม่ได้ ตัวอย่างที่ถ่ายเริ่มเหี่ยวแล้ว(ดอกไม้นะ ไม่ใช่ที่ไปด้วยกัน)แต่อยากถ่ายสวยๆ ทำไงดี

ทำไงดีครับ

วาดรูปครับ

วงการวิทยาศาสตร์จึงเกิดคำว่า Science Illustration (การวาดรูปทางวิทยาศาสตร์) ขึ้นมา
 การวาดรูปทางวิทยาศาสตร์ก็เหมือนการวาดรูปแบบจิตรกรนั่นแหละครับ ใช้เทคนิค วิธีเดียวกันเพียงแต่แนวคิดคนละแบบ
การวาดรูปทั่วไปจะเน้นความสวยงาม การจัดองค์ประกอบภาพที่ดึงสายตาเข้าหาจุดเด่น
ส่วนการวาดรูปทางวิทยาศาสตร์นั้น เน้นความสวยงามเหมือนกันครับ แต่ต้องเหมือนจริงด้วย เหมือนจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเก็บรายละเอียดส่วนต่างๆ ของวัตถุที่ศึกษาไว้ครบถ้วน กล้ามเนื้อแต่ละมัด เกสรแต่ละเส้นต้องเหมือนจริง



ข้อดีของการวาดรูปคือเราสามารถตกแต่งรูปให้สวยงามได้ตามที่ต้องการ เราสามารถปรับองค์ประกอบภาพได้ ซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่าการถ่ายภาพ แต่อาจจะต้องเสียเวลากับมันซักหน่อย (แต่ถ้ามืออาชีพ ก็ใช้เวลาไม่นานเลย บางรูปไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จแล้ว)

แล้วคนที่มาวาดรูปนี่ไม่ใช่จิตรกรนะครับ เป็นนักวิทยาศาสตร์เองนั่นแหละ ที่นักวิทย์ต้องวาดเองเพราะเขารู้ว่าต้องวาดตรงไหนบ้าง ตรงไหนควรเก็บรายละเอียด เช่นแมลงสองสายพันธุ์คล้ายกันมาก แต่ต่างกันที่โคนปีกนิดหน่อย นักชีวะก็จะรู้ แต่ถ้าเป็นจิตรกรคงไม่มีความรู้ด้านนี้

นี่จึงกลายเป็นที่มาของ เด็กวิทย์ หัวศิลป์ นั่นเอง

ที่ประเทศไทยงานสาขานี้มีเรียนมาเฉพาะก็มี
สามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www1.si.mahidol.ac.th/division/siet/ คณะเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.unigang.com/Article/1528
หรือที่คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลก็มีเปิดคอร์สสอนเป็นบางครั้งเช่นกัน
http://www.sc.mahidol.ac.th/scpl/SCI/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น