วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แชร์ข้อสอบเรื่อง linked-gene

ข้อสอบถามว่า

การผสมพันธุ์ระหว่างจีโนไทป์ในข้อใด สามารถบอกได้ว่ายีนคู่ A และ B แยกออกจากกันอย่างอิสระ

1. AaBb x aabb 2. AABB x aabb 3. Aabb x aaBb 4. AAbb x aaBB

คิดออกกันมั้ยเอ่ย

กรณีนี้ถามว่าข้อไหนไม่มีโอกาสเป็น linked-gene
ถ้าเป็น linked-gene มันจะติดกันหมด เช่น
ข้อ1 Aคู่กับ B เสมอ aคู่กับb เสมอ
ข้อ2 Aคู่B เสมอ aคู่b เสมอ
ข้อ4 Aคู่b เสมอ aคู่B เสมอ
3 ข้อนี้จึงเป็น linked-gene ครับ
เหลือข้อ 3 ที่ไม่เป็น linked-gene

เพราะฉะนั้นตอบข้อ 3 ครับ

ไปเจอข้อสอบมา อยากแชร์

ข้อใดเกี่ยวข้องกับการมีลำดับของนิวคลีโอไทด์ในดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตแตกต่างกัน
ก. สิ่งมีชีวิตมีฟีโนไทป์ต่างกัน ข. มีวิวัฒนาการเกิดขึ้น ค. มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างสิ่งมีชีวิต

1. ก,ข 2. ข,ค 3. ก,ค 4. ก,ข,ค
คนส่วนใหญ่ตอบข้อ 1. ก,ข ถูก

แต่ในความเห็นเราตอบ ข้อ 3 ครับ
นิวคลีโอไทด์ต่างกัน ก็จะมีฟีโนไทป์ต่างกัน ข้อนี้ถูก (แต่ไม่เสมอไปนะ ลำดับเบสต่างแต่ให้ฟีโนไทป์เหมือนกันก็มี)

มีวิวัฒนาการ อันนี้ไม่ใช่ครับ วิวัฒนาการเกิดจากการที่ลำดับเบสเปลี่ยนไปเรื่อยๆ (คือลำดับเบสเปลี่ยนค่อยเกิดวิวัฒน์ แต่โจทย์ข้อนี้ถามว่าต้องลำดับเบสต่างจึงเกิดอะไรตามมา)

มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ข้อนี้ถูก สิ่งมีชีวิตคล้ายกัน มีลำดับเบสเบสต่างกันนิดหน่อย ก็หมายความมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เช่น หมา สปีชี่ส์เดียวกัน แต่สายพันธ์ต่างกัน (โกลเด้น พิทบูล ชิวาว่า หมาบ้านทุกตัวเป็นสปีชี่ส์เดียวกัน) คือลำดับเบสที่ต่างทำให้เกิดความใกล้ชิดทางวิวัฒนาการ

(ขอบคุณเพจ BioMastery ในเฟสบุคด้วยครับ)

เด็กวิทย์ หัวศิลป์






คนเรามีสมองอยู่สองซีก ซ้ายและขวา
ในด้านการเคลื่อนไหว สมองซีกซ้ายควบคุมร่างกายด้านขวา สมองซีกขวาควบคุมร่างกายด้านซ้าย
ด้านความคิด สมองซีกซ้ายควบคุมความคิดเป็นเหตุเป็นผล ตรรกะ
ส่วนสมองซีกขวาควบคุมความคิดที่ใช้อารมณ์ ความต้องการพื้นฐาน เป็นหลัก

เราเชื่อว่านักอ่านหลายๆ คนพอได้อ่านแล้วก็จะบอกว่า กูรู้แล้ววว มันเป็นที่มาของคำว่า หัววิทย์หรือหัวศิลป์นี่ไงหละ คนเราเกิดมาสมองฝั่งหนึ่งจะถูกพัฒนามากว่าอีกฝั่ง แล้วเชื่อมการทำงานของสมองสองฝั่งด้วยสมองส่วนที่ชื่อว่า Corpus Callosum นั่นอย่างไร
(วะฮะฮะฮ่าาา ฉลาดจริงๆกู)

แต่ถ้าเราบอกว่า มีคนที่เก่งทั้งวิทย์ เก่งทั้งศิลป์หละ!!!!   จะเชื่อเรารึเปล่า

ในวงการวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยานั้น จะต้องมีการเก็บตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปศึกษาโครงสร้าง รูปร่างหน้าตา หรือทำการระบุชื่อ(ทางวิทยาศาสตร์) 

แต่ถ้าไม่สามารถเก็บตัวอย่างได้หละ!!!   (ฉิบหายหละสิ)  (=..=!)

ทำไงดีครับ

ถ้าเป็นสมัยนี้ก็แน่นอนครับ ถ่ายรูปครับ หึหึ (สมาร์ทโฟน กล้องถ่ายรูป 360องศาหนะใช้เข้าไปสิยะหล่อน)
แต่การถ่ายรูปก็มีข้อจำกัดครับ อาจจะมืดแล้วถ่ายไม่ได้ อยากถ่ายให้องค์ประกอบทุกอย่างอยู่ในเฟรมเดียวก็ทำไม่ได้ ตัวอย่างที่ถ่ายเริ่มเหี่ยวแล้ว(ดอกไม้นะ ไม่ใช่ที่ไปด้วยกัน)แต่อยากถ่ายสวยๆ ทำไงดี

ทำไงดีครับ

วาดรูปครับ

วงการวิทยาศาสตร์จึงเกิดคำว่า Science Illustration (การวาดรูปทางวิทยาศาสตร์) ขึ้นมา
 การวาดรูปทางวิทยาศาสตร์ก็เหมือนการวาดรูปแบบจิตรกรนั่นแหละครับ ใช้เทคนิค วิธีเดียวกันเพียงแต่แนวคิดคนละแบบ
การวาดรูปทั่วไปจะเน้นความสวยงาม การจัดองค์ประกอบภาพที่ดึงสายตาเข้าหาจุดเด่น
ส่วนการวาดรูปทางวิทยาศาสตร์นั้น เน้นความสวยงามเหมือนกันครับ แต่ต้องเหมือนจริงด้วย เหมือนจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเก็บรายละเอียดส่วนต่างๆ ของวัตถุที่ศึกษาไว้ครบถ้วน กล้ามเนื้อแต่ละมัด เกสรแต่ละเส้นต้องเหมือนจริง



ข้อดีของการวาดรูปคือเราสามารถตกแต่งรูปให้สวยงามได้ตามที่ต้องการ เราสามารถปรับองค์ประกอบภาพได้ ซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่าการถ่ายภาพ แต่อาจจะต้องเสียเวลากับมันซักหน่อย (แต่ถ้ามืออาชีพ ก็ใช้เวลาไม่นานเลย บางรูปไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จแล้ว)

แล้วคนที่มาวาดรูปนี่ไม่ใช่จิตรกรนะครับ เป็นนักวิทยาศาสตร์เองนั่นแหละ ที่นักวิทย์ต้องวาดเองเพราะเขารู้ว่าต้องวาดตรงไหนบ้าง ตรงไหนควรเก็บรายละเอียด เช่นแมลงสองสายพันธุ์คล้ายกันมาก แต่ต่างกันที่โคนปีกนิดหน่อย นักชีวะก็จะรู้ แต่ถ้าเป็นจิตรกรคงไม่มีความรู้ด้านนี้

นี่จึงกลายเป็นที่มาของ เด็กวิทย์ หัวศิลป์ นั่นเอง

ที่ประเทศไทยงานสาขานี้มีเรียนมาเฉพาะก็มี
สามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www1.si.mahidol.ac.th/division/siet/ คณะเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.unigang.com/Article/1528
หรือที่คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลก็มีเปิดคอร์สสอนเป็นบางครั้งเช่นกัน
http://www.sc.mahidol.ac.th/scpl/SCI/

แนะนำตัวกันก่อนนะ ^^

สวัสดีขอรับ นักอ่านผู้แสวงหาความรู้ทุกท่าน
กระพ้ม วรัญญู อภิศักดิ์ศิริ หรือชื่อเรียกสั้นๆ ว่า รัน
เราเองเป็นคนนึงที่ชอบ ชีววิทยา เป็นส่วนตัว เพราะเวลาที่เราได้รับรู้ถึงสิ่งใหม่ๆ ได้ข้อมูลใหม่ๆ เราจะรู้สึก อู้หูวววววว อื้อหือออออออ (O.O) มันเป็นอย่างนี้จริงๆหรอ เป็นไปได้ยังไง ตื่นตาตื่นใจและรู้สึกตื่นเต้นกับความรู้ใหม่ๆเสมอ และเราก็เชื่อว่าหลายๆคนก็คงเป็นเหมือนเรา

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า!!!!! 
ความรู้ที่เราได้รับส่วนใหญ่มาจากห้องเรียน (=.=)
มันน่าเบื่อใช่ปะหละ พอน่าเบื่อ ก็ไม่เรียน พอไม่เรียนก็ไม่รู้เรื่อง พอเอามาอ่านก็ไม่จำ พอท่องจำก็ไม่เข้าใจ พอไม่เข้าใจก็ตก พอตกก็ไม่ชอบ พอไม่ชอบก็ไม่เรียน วุ้วววววว ประเสริฐหละงานนี้

แก้ยังไงดี??     (-.-)? (=.=)? (=..=)? 

เคยสังเกตมั้ยว่าเรื่องที่เราจดจำ หรือจำได้ จะเป็นเรื่องที่เราประทับใจ และเป็นเรื่องสั้นๆ อ่านไม่เยอะ
ให้มานั่งอ่านยืดยาว อ่านที 10-20 นาทีกว่าจะจบ ไปนั่งเล่นเกม กินขนมอร่อยๆ ยังมีความสุขกว่า จริงมะ

เพราะฉะนั้น เราจะเอาข้อนี้มาเป็นหลักยึดในการเรียนรู้กัน

ยังไงก็ขอฝากบล็อกนี้ไว้ด้วยนะขอรับ