ตอนเด็กๆ เราคงเคยเรียนกันมาบ้างว่า
สิ่งมีชีวิตมีการขับถ่ายของเสียออกมาในรูปแบบต่างๆกัน
สิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายและอาศัยอยู่ใต้น้ำมักจะขับถ่ายออกมาในรูปแบบแอมโมเนีย
เพราะสร้างได้ง่าย ละลายไปกับน้ำได้เลย
ส่วนสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาความซับซ้อนขึ้นมา จะต้องเก็บของเสียไว้ในร่างกายชั่วคราวก่อนก็จะเปลี่ยนรูปให้มีความเป็นพิษลดลง ก็จะขับถ่ายในรูปของ กรดยูริก หรือยูเรียตามลำดับความซับซ้อน
คุงครูก็เลยสรุปให้ฟังว่า
"มนุษย์เมื่อกินโปรตีนเข้าไปแล้ว ส่วนที่เป็นของเสียจากโปรตีนก็จะเปลี่ยนเป็นแอมโมเนีย แอมโมเนียก็จะถูกเปลี่ยนเป็น กรดยูริก และสุดท้ายกรดยูริกจะถูกเปลี่ยนเป็นยูเรีย เนื่องจากความเป็นพิษต่อร่างกายน้อยกว่า"
แต่เมื่อมาดู Pathway ทางชีวะเคมีแล้วมันไม่ใช่
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/6/64/Urea_cycle_1.png |
จากรูปจะเห็นว่าร่างกายย่อยโปรตีนและได้ของเสียคือแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งจะจับกับ CO2 และฟอสเฟต ผ่านเอนไซม์ Carbamoyl Phosphate Synthase จึงเกิดเป็น Carbamoyl Phosphate ไม่ใช่กรดยูริก
(กรดยูริกเกิดจากแอมโมเนีย 2 โมเลกุลจับกับ CO2 กลายเป็น (NH2)2CO)
แล้ว Carbamoyl Phosphate ก็เข้า Urea Cycle เพื่อสร้างสร้างยูเรียต่อไป
สรุปคร่าวๆ คือ ย่อยโปรตีน ได้แอมโมเนีย แล้วเปลี่ยนเป็น Carbamoyl Phosphate แล้วเปลี่ยนเป็นยูเรีย
ส่วนกรดยูริกนั้น มาจากไหน คนเป็นโรคเก๊าท์ เกิดจากกรดยูริกไม่ใช่หรอ แต่ทำไมในนี้ไม่มีกรดยูริกหละ
คำตอบคือ ร่างกายเราก็สร้างกรดยูริกเช่นกัน แต่ไม่ได้มีสารตั้งต้นเป็นโปรตีน
มาดูรูปกัน
http://themedicalbiochemistrypage.org/images/purinecatabolism.jpg |
จากรูปจะเห็นว่าสารตั้งต้นเป็นสารกลุ่ม Nucleic acid (พวกสารพันธุกรรม) แล้วถูกย่อยสลายผ่านกระบวนการต่างๆ จนได้ Xanthine แล้วเปลี่ยนเป็น Uric acid
ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันกับการเกิดยูเรียเลย
ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันกับการเกิดยูเรียเลย
ปกติกรดยูริกจะถูกขับออกโดยไตละลายไปกับปัสสาวะได้บางส่วน (บางส่วนจะถูกดูดกลับเข้ากระแสเลือด) เพราะฉะนั้นยิ่งมีกรดยูริกมาก ยิ่งมีโอกาสถูกดูดกลับเข้ากระแสเลือดมาก ซึ่งทำให้คนนั้นมีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์สูง
ที่เป็นแบบนี้เพราะสัตว์กลุ่ม Higher Primate โดยเฉพาะพวก Ape (ลิงไร้หาง) ไม่มีเอนไซม์ Urate Oxidase ที่จะเปลี่ยนกรดยูริกให้เป็นรูปอื่นต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น